ภาคเหนือ

วัดศรีบัวบาน

ถึงตัวจะห่างวัด แต่หัวใจไม่ห่างบุญ ชุดถวายพระวัดศรีบัวบาน

ประวัติวัดศรีบัวบาน

บ้านศรีบัวบานเดิมชื่อ บ้านจำบอนนอก เป็นหมู่บ้านที่แยกอกจากบ้านจำบอนในเมื่อปี พ.ศ. 2368 สาเหตุที่แยกออกมาเพราะต้องการที่จะมีหมู่บ้านและที่ทำกินเป็นของตัวเอง เขตบ้านจำบอนนอกและจำบอบในมีเพียงร่องน้ำ (ฮ่องบอน)เป็นเขตแนวกั้น แรกตั้งจะมีหมู่บ้านเพียงแค่ 7-8 หลังคาเรือนเท่านั้น ต่อมาได้มีคนอพยพเข้ามาอยู่อีกหลายครอบครัว สถานที่ตั้งบ้านเรือนในตอนแรกตั้งอยู่บริเวณดอยโอสถ และบริเวณดอยเจดีย์ 3 องค์ ในขณะนั้นได้มีการสร้างวัดเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้าน วัดแห่งแรกชื่อว่าวัด “ศรีดอนรอม” สำหรับอาชีพของคนในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่ทำนา ทำสวน เผาหินปูนขาวและหาของป่า ต่อมาบริเวณที่อยู่อาศัยเกิดน้ำท่วมขัง เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มผู้คนจึงได้อพยพมาอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านเพราะเป็นที่ราบค่อนข้างสูงน้ำท่วมไม่ถึง พอมาตั้งรกรากในที่แห่งใหม่ผู้คนก็ได้อพยพมามากขึ้น บางครอบครัวได้ชวนเครือญาติเข้ามาอาศัยในหมู่บ้านนี้ประมาณ 100 กว่าหลังคาเรือน ชาวบ้านจึงเริ่มสร้างวัดแห่งใหม่ เนื่องจากวัดเดิมที่เคยสร้างอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านมาก วัดใหม่สร้างขึ้น ชื่อว่า วัดศรีบัวบาน ซึ่งเป็นวัดที่มีมาอยู่จนปัจจุบันนี้ สำหรับที่มาของชื่อวัดศรีบัวบาน เพราะที่หน้าวัดมีต้นโพธิ์อยู่ 3 ต้น ต้นโพธิ์น้ำ ภาษาพื้นบ้านเรียกว่า ไม้สะหรี หรือต้นไม้ศรี และยังมีหนองน้ำมีดอกบัวขึ้นมากมายเต็มหน้าวัด คนในหมู่บ้านจึงพร้อมใจกันตั้งชื่อว่า วัดศรีบัวบาน ตามชื่อต้นไม้เหล่านี้ และต่อมาหมู่บ้านก็เปลี่ยนชื่อจากบ้านจำบอนนอกเป็นบ้านศรีบัวบาน มาจนปัจจุบัน

วัดจุฬามณี

ประวัติวัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม วัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม วัดจุฬามณี ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๙๓ หมู่ ๙ ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อยู่ติดถนนสายสมุทรสงคราม-บางแพ ด้านหน้าติดกับคลองอัมพวา เชื่อมติดต่อกับคลองบางผีหลอก ห่างจากตัวจังหวัดสมุทรสงครามราวประมาณ ๗ กิโลเมตรเศษ และห่างจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภออัมพวาประมาณ ๒ กิโลเมตร ด้านทิศเหนือติดกับถนนสายสมุทรสงคราม-บางแพ ทิศใต้ติดกับคลองอัมพวา

วัดจุฬามณี เป็นวัด เก่าแก่โบราณ มีความสำคัญในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ ราชวงศ์จักรี ฝ่ายราชนิกุล(ตระกูลบางช้าง) วัดจุฬามณี เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดแม่เจ้าทิพย์ ตามประวัติสืบมาได้ว่า วัดนี้สร้างมาแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามประวัติว่าท่านท้าวแก้วผลึก(น้อย) ธิดาคน หนึ่งของท่านพลาย ซึ่งเป็นนายตลาดบางช้าง มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขนอนตลาด จึงมีทรัพย์และรายได้มากชั้นเศรษฐีผู้หนึ่ง จึงได้สร้างวัดจุฬามณี ขึ้นมาใหม่วัดจุฬามณีได้รับความอุปถัมป์ทำนุบำรุงจากมหาอุบาสก และมหาอุบาสิกาสำคัญ ซึ่งต่อมาภายหลังเป็นต้นราชวงศ์จักรี โดย ภูมิประเทศแห่งนี้เป็นที่ประสูติของเจ้าผู้ครองประเทศไทยสืบต่อกันมา

วัดจุฬามณี อำเภออัมพวา จ.สมุทรสงคราม ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 325 (สมุทรสงคราม-บางแพ) กิโลเมตร 34–35 ตำบลบางช้าง เป็น วัดโบราณริมฝั่งคลองอัมพวาต่อเนื่องกับคลองผีหลอก วัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สันนิษฐานว่า ท้าวแก้วผลึก (น้อย) นายตลาดบางช้าง ต้นวงศ์ราชินิกุลบางช้างเป็นผู้สร้างขึ้น บริเวณหลังวัดเดิมเป็นนิวาสสถานของคุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) และคุณบุญรอด (สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2)

ลำดับจ้าอาวาส วัดจุฬามณี ที่สืบได้มีดังนี้

๑.พระอธิการอิน มรณภาพ

๒.พระอธิการเนียม มรณภาพ

๓.พระอาจารย์แป๊ะ ลาสิกขาบท

๔.พระอาจารย์ปาน ลาสิกขาบท

๕.หลวงพ่ออ่วม มรณภาพ

๖.พระอาจารย์นุ่ม มรณภาพ

๗.หลวงพ่อแช่ม มรณภาพ

๘.หลวงพ่อเนื่อง (พระครูโกวิทสมุทรคุณ เนื่อง โกวิโท)เถาสุวรรณ มรณภาพ

๙.พระอาจารย์อิฏฐ์ (พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ อิฏฐ์ ภทฺทจาโร) น้อยมา องค์ปัจจุบัน

สามสิ่งที่อยู่คู่วัด ซึ่งเป็นไฮไลต์ที่นักท่องเที่ยวทุกคนไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนวัดนี้ ได้แก่

1. สังขารไม่เน่าเปื่อยของหลวงพ่อเนื่อง โกวิท อดีตเจ้าอาวาส

2. อุโบสถจตุรมุขหินอ่อนที่มีความสวยงาม โดยอุโบสถหลังนี้มีขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ปูพื้นด้วยหินหยกสีเขียวจากเมืองการาจี ประเทศปากีสถาน ภายประดิษฐานพระประธานบนฐานสูง บานหน้าต่างด้านนอกลงรักฝังมุกเป็นภาพตราพระราชลัญจกร ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลปัจจุบัน พระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนภาพเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นต่างๆ นอกจากนี้บริเวณฝาผนังโดยรอบพระอุโบสถ ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและนิทานชาดกที่ประณีต ฝีมือของจิตรกร หญิงนิตยา ศักดิ์เจริญ ซึ่งใช้เวลาในการวาดนานถึง 6 ปี

3. องค์ท่านพ่อท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวเวสสุวัณ ตามความเชื่อของพระพุทธศาสนาที่มีสี่ภาค รวมทั้งคาถาขอพร ร้านขายขนมทองม้วนสูตรโบราณที่สืบทอดวิธีการทำมาแต่ดั้งเดิม ตั้งอยู่บริเวณถนนทางเข้าวัด

ท้าวเวสสุวรรณวัดจุฬามณี ในความเชื่อแต่โบราณนั้น เขาว่ากันว่า มีภพภูมิทั้งชั้นมนุษย์ ชั้นสวรรค์เทวดา และชั้นนรกภูมิ โดยจะมีภพภูมิหนึ่งที่ทับซ้อนแล้วอยู่ใกล้เคียงกับชั้นมนุษย์มากที่สุด นั่นคือสวรรค์ชั้น จตุมหาราช โดยมี เทพราชาสี่องค์ คอยปกปักรักษาอยู่ตามทิศต่างๆ ราชาแห่งยักษ์ละเหล่าภูติผี มีลักษณ์เป็นยักษ์ร่างใหญ่ แลดูน่ายำเกรง แต่ถือว่าเป็นจอมยักษ์ที่ให้คุณ โดยจะปกป้องคุ้มครองคนที่ประพฤติดี ให้ปลอดภัยจากอันตราย การรบการของพลังร้าย ผีและมนต์ดำ และบ่อยครั้งก็มักจะมีสำนักวิชาหลายสำนัก สถาปณาวัตถุมงคลที่ เป็นรูปยักษ์ที่เรียกว่าท้าวเวสสุวรรณ สำหรับใส่คล้องคอเพื่อป้องกันอันตราย

พุทธคุณ : เน้นไปในการสร้างท้าวเวสสุวรรณ ที่สามารถเช่าบูชาได้จากวัดนี้ การไหว้ท้าวเวสสุวรรณคือ ธูป 9 ดอก กุหลาบแดง 9 ดอก แล้วตั้งนะโนสามจบ แล้วท่องคาถาว่า

อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ

มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ

ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต

เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ

สนใจเช่าบูชา วัตถุมงคล >>>> วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม

วัดนางพญา พิษณุโลก

วัดนางพญา ตั้งอยู่ถนนจ่าการบุญ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายพื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ถนนมิตรภาพและอยู่ใกลชิดแม่น้ำน่าน การคมนาคมสะดวก อาคารเสนาสนะต่างๆ มี อุโบสถกว้าง ๑๐.๕๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สำหรับปูชนียวัตถุมี พระประธานในอุโบสถเรียกพระสมเด็จนางพญาเรือนแก้ว นอกจากนี้มีพระเครื่องพิมพ์นางพญา เป็นต้นตระกูลในสมัยนั้น ๓ ขนาด และมีเจดีย์เก่า ๒ องค์ มีมาคู่กับวิหารวัดนางพญา สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๑๒๐ เป็นที่ทราบกันว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ท่านสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ์พระนางวิสุทธิกษัตริย์ พระราชชนนีสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์ไทย วัดนี้เป็นวัดต้นตระกูลของพระเครื่องสมเด็จนางพญา

แต่เดิมนั้นยังไม่มีอุโบสถ แต่มีวิหารสมเด็จนางพญาเรือนแก้ว ต่อมาวิหารชำรุดทรุดโทรม ทางวัดจึงได้ทำการบูรณะของเก่าทำให้เป็นอุโบสถ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันพระราชทานพระฤกษ์การสร้างอุโบสถ ณ วันพุธที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๖ เกี่ยวกับการศึกษา ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม พ.ศ.๒๕๐๕



พระพิมพ์นางพญา ได้ถูกบรรจุไว้บนหอระฆังของเจดีย์ ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวัด ต่อมาเมื่อเจดีย์หักพังลงมา พระนางพญาจึงตกลงมาปะปนกับซากเจดีย์ และกระจายทั่วไปในบริเวณวัด ได้มีการพบกรุพระนางพญาครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๔ และได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และให้บรรดาข้าราชบริพาร ครั้งหลังเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ในสมัยสงครามมหาเอเซียบูรพา เมื่อมีการขุดหลุมหลบภัยจึงไปพบพระนางพญาเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณวัด พระพิมพ์นางพญา เป็นพระพิมพ์ปางมารวิชัย องค์พระอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีเหลี่ยมรอยตัดด้วยเส้นตอกตัดเรียบร้อย สวยงามปราณีต เป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาเนื้อแกร่ง และเนื้อหยาบ เนื้อมีส่วนผสมของดินว่านต่างๆ แร่ธาตุ กรวดและทราย เนื้อที่มีสีเขียวและสีดำจะมีความแกร่งมากกว่าสีอื่น เนื่องจากถูกเผาด้วยอุณหภูมิสูง สีโดยทั่วไปจะเป็นสีแดงคล้ำน้ำตาลแก่ เขียวตะไคร่แกมดำสีเม็ดพิกุลแห้ง สีกระเบื้อง หรือสีหม้อไหม้ สีสวาทหรือสีเทา และสีแดงคล้ำมีควาบกรุ ที่เรียกว่าเนื้อมันปู และสีขาวอมชมพู

รูปแบบของพิมพ์มีอยู่ ๖ พิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์ใหญ่เข่าตรง พิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง พิมพ์ใหญ่อกนูน พิมพ์เล็กอกนูน พิมพ์สังฆาฏิ และพิมพ์เทวดา เชื่อกันว่าพระพิพม์นางพญามีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ด้านเมตตามหานิยมให้ลาภยศ แคล้วคลาดจากอันตราย และภัยพิบัติทั้งปวง อยู่ยงคงกระพันไม่ว่าอาวุธใด ๆ ไม่อาจทำอันตรายได้พระวิหาร เป็นอาคารทรงโรงก่ออิฐถือปูนมี ๖ ห้อง สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปะสุโขทัย ฝาผนังด้านหลังเขียนภาพไตรภูมิ ฝาผนังด้านหน้าเขียนภาพพุทธประวัติ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้มีการดัดแปลงพระวิหารให้เป็นพระอุโบสถ โดยการก่อสร้างขึ้นใหม่หมดทั้งหลัง

วัดป่าตึงงาม ลำพูน

พระรอด เป็นนามที่ผู้สันทัดรุ่นก่อนเชื่อกันว่า เรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือ พระฤาษี “นารทะ” หรือพระฤาษี “นารอด” พระรอดคงเรียกตามนามพุทธรูป ศิลา องค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหาร วัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือ พระ “รอดหลวง” ในตำนานว่า คือ พระพุทธ สิขีปฏิมา ที่พระนามจามเทวี อันเชิญมาจากกรุงละโว้ พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอดพระพุทธรูปองค์นี้ ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมี ปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน

     พระรอด มีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5 แต่ที่สืบทราบมาได้จากการบันทึกไว้ ของท่านอธิการทา เจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษีในขณะนั้น และอาจารย์บุญธรรม วัดพระมหาธาตุหริภุญไชย ว่าในปี พ.ศ. 2435 พระเจดีย์วัดมหาวันได้ชำรุดและพังทลายลงบางส่วน ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร ทางวัดได้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ ในครั้งนั้นได้พบพระรอดภายในกรุเจดีย์มากที่สุด

     พระรอดมีลักษณะของผนังใบโพธิ์คล้ายพระศิลา ในพระวิหารวัดมหาวัน ผู้พบพระรอด ในครั้งนั้นคงเรียกตามนามพระรอดหลวง แต่นั้นมาก็ได้นำพระรอดส่วนหนึ่งที่พบในครั้งนี้ นำเข้าบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามเดิม อีกประมาณหนึ่งบาตร พระรอด ขุดค้นพบในปี พ.ศ. 2451 ในครั้งนั้นฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุด ทางวัดได้รื้อออกเสียและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ได้พบพระรอดที่บรรจุไว้ใน พ.ศ. 2435 ได้นำออกมาทั้งหมด และนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและผู้ร่วมงานในขณะนั้น เป็นการพบพระรอดจำนวนมาก

    พระรอด กรุนี้ถือเป็นพระกรุเก่าและตกทอดมาจนบัดนี้ และทางวัดมหาวันได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่บรรจุไว้แทน เข้าใจว่าคงเป็นรุ่นพี่พระครูบากองแก้วเป็นผู้สร้างไว้เพราะมีบางส่วนนำออกแจกให้ประชาชนในขณะนั้น เรียกว่า พระรอด ครูบากองแก้ว จากนั้นช่วงเวลาผ่านมาจนถึง ปี พ.ศ. 2498 ได้ขุดพบพระรอดด้านหน้าวัด และใต้ถุนกุฏิพระ ได้พบพระรอดจำนวนเกือบ 300 องค์ มีทุกพิมพ์ทรง กรุนี้ถือว่าเป็นกรุพระรอดกรุใหม่ ที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันนี้ถึงปี พ.ศ. 2506 ทางวัดมหาวันได้รื้อพื้นพระอุโบสถ เพื่อปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้พบพระรอดครั้งสุดท้ายที่มีจำนวนมากถึง 300 องค์เศษ




    พระรอดรุ่นนี้มีผู้นำมาให้เช่า ในกรุงเทพจำนวนมาก พระรอดส่วนใหญ่จะคมชัด และงดงามมากเป็นพระรอดกรุใหม่รุ่นสอง หลังจากนั้นต่อมาก็มีผู้ขุดหาพระรอด ในบริเวณลานวัด แทบทุกซอกทุกมุมทั่วพื้นที่ในวัด นานๆ ถึงจะได้พบพระรอดขึ้นมาองค์หนึ่ง เป็นเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งทางวัด ได้ระงับการขุดพระรอด นอกจากพระรอดแล้ว วัดมหาวัน ยังขุดพบพระเครื่องสกุลลำพูน เกือบทุกพิมพ์ ที่พิเศษคือ ได้พบพระแผ่นดุนทองคำเงิน แบบเทริดขนนกมากที่สุดในลำพูนด้วย

    พระรอดได้ขุดค้นพบที่วัดมหาวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้นเนื้อดินเผาละเอียดหนักนุ่มมาก องค์พระประทับนั่งขัดเพ็ชรปางมารวิชัยประกอบด้วยพื้นผนังใบโพธิ์ทั้งสองด้าน มีศิลปะโดยรวมแบบทวาราวดี ศรีวิชัย เป็นรูปแบบเฉพาะของสกุลช่วงสมัยหริภุญไชย

     ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 แบ่งลักษณะ แบบได้ 5 พิมพ์ทรง คือ

พิมพ์ใหญ่
พิมพ์กลาง
พิมพ์เล็ก
พิมพ์ต้อ
พิมพ์ตื้น

     มีลักษณะจุดตำหนิโดยรวมที่เป็นสัญลักษณ์ปรากฏทุกพิมพ์ ในพิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก เริ่มจากด้านบนของทั้งสามพิมพ์มีจุดโพธิ์ติ่ง ทั้งสามพิมพ์นี้มี 3 ใบ ปรากฏที่เหนือปลายเกศ และด้านข้างพระเศียร 2 ใบ กลุ่มใบโพธิ์แถวนอกจะใหญ่กว่าแถวใน และโพธิ์คู่ทั้ง 3 พิมพ์นี้มีระดับสูงเกือบเสมอกัน เส้นรอยพิมพ์แตกมีเฉพาะพิมพ์ใหญ่เท่านั้น มีรูปคล้ายตัวหนอนปรากฏเส้นข้างพระกรรณด้านซ้ายขององค์พระ เหนือเข่าด้านซ้ายขององค์พระมีเส้นน้ำตกเป็นเส้นนูนเล็กมาวาดจากใต้ข้อศอกพระรอดใต้ฐานชั้นบน เฉพาะพิมพ์ใหญ่มีฐาน 4 ชั้น

พิมพ์กลาง เล็ก ต้อ ตื้น มีฐาน 3 ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์ตื้นมีเนื้อดินยื่นจากใต้ฐานล่างที่สุดเรียกว่า ฐาน 2 ชั้น

พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อไม่มี กลุ่มโพธิ์แถวนอกของทุกพิมพ์จะคล้าย ๆ กันเพราะทำมาจากช่างคนเดียวกัน นอกจากนั้นพิมพ์ต้อกับพิมพ์ตื้นกลับไม่ค่อยมีใบโพธิ์ในพิมพ์ตื้นมีพื้นผนังโพธิ์แถวใน ใบโพธิ์ติดชิดกับองค์พระแล้วลาดเอียงลงที่กลุ่มโพธิ์แถวนอก ตรงแสกหน้ามีรอยพิมพ์แตกเป็นจุดสังเกต ในพิมพ์ต้อไม่ปรากฏโพธิ์แถวใน พื้นผิวติดองค์พระสูงลาดเอียงลงมา ที่กลุ่มโพธิ์แถวนอกเฉพาะตรงปลายเส้น ชี้นูนสูงที่สุดเป็นจุดสำคัญ

นอกจากนี้ประการสำคัญที่สุดของพระรอด ที่ของปลอมจะทำเลียนแบบได้ยากคือ การจำรูปแบบพิมพ์ทรง และความเก่าของเนื้อเฉพาะพิมพ์ใหญ่จะปรากฏพระโอษฐ์ (ปาก) เม้มจู๋คล้ายปากปลากัด มีรอยหยักพับที่ริมฝีปากบนชัดเจนมาก เป็นจุดลับที่ควรสังเกตไว้ และกลุ่มโพธิ์แถวนอกของพิมพ์ใหญ่ด้านซ้าย ขององค์พระ มีระดับลาดเอียงเห็นได้ชัดเจนมาก เป็นจุดสังเกตที่ของปลอมจะทำได้ยาก


/div>

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ลำพูน

พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่ พระเจ้าอาทิตยราช เป็นผู้สถาปนาขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 17 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนานพระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า- ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ



ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่องทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสัณฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่และสูง เมื่อ พญามังราย ตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรง ขององค์พระธาตุฯ จากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา ในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมาประมาณปี พ.ศ. 1951 โปรดให้มีการปิดทององค์พระธาตุ พ.ศ. 1990 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์องค์สำคัญแห่งเมืองเชียงใหม่ ทรงร่วมกับพระมหาเมธังกรเถระ ก่อพระมหาเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น 92 ศอก กว้างยาวขึ้น 52 ศอก เป็นรูปร่างที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน

วัดพระบรมธาตุพระอารามหลวง กำแพงเพชร

วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง



เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี บรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศศรีลังกาพญาลิไททรงประดิษฐานไว้เมื่อปี พ.ศ.1900 ประชาชนชาวกำแพงเพชรมีความศรัทธาต่อองค์พระธาตุและมีความเชื่อดังจารึกที่ว่า "ผิผู้ใดได้ไหว้นบกระทำบูชาพระศรีรัตมหาธาตุและพระศรีมหาโพธิ์นี้ว่าไซร้ มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบพระผู้เป็นเจ้า" เป็นตำนานที่มาของงานประเพณี "นบพระเล่นเพลง" ในวันมาฆบูชาของจังหวัดกำแพงเพชร พระบรมธาตุนครชุม มหาเจดีย์ทรงสูงใหญ่ สวยงามไปด้วยสถาปัตยกรรมและสีทองอร่ามทั้งองค์ เสมือนดั่งเจดีย์ชเวดากองในเมืองพม่า เป็นพระบรมเจดีย์ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 9 องค์ เมื่อได้เข้าไปนมัสการและบูชาแล้ว ดังได้นบกับพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง เป็นพระบรมธาตุเจดีย์อยู่คู่เมืองกำแพงเพชร มาตั้งแต่สมัยเป็นเมืองนครชุม กินเวลายาวนานกว่า 600 ปี และยังคงยั่งยืนสืบต่อกันมาเป็นองค์มหาเจดีย์แห่งศรัทธา จวบจนปัจจุบัน
วัดพระบรมธาตุนครชุมเป็นวัดเก่าแก่อยู่คู่เมืองกำแพงเพชรมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

วัดมหาวัน ลำพูน

พระรอดหลวง ยอดมหาเศรษฐี วัดมหาวัน

พระประกอบบุญ สิริญาโณ เจ้าอาวาสวัดมหาวัน พระรอดหลวงเมื่อแรกพบนั้น ส่วนของพระพาหา (แขน) หักจากลำพระองค์ อยู่ในสภาพคว่ำหน้า จมใต้ชั้นดินลึกประมาณ 2 ฟุต สถานที่พบอยู่ใกล้เชิงฐานองค์พระเจดีย์ ด้านหลังพระวิหารหลวงหลังปัจจุบัน สมัยที่อาตมายังเป็นเณรน้อย พระผู้ใหญ่ของวัดมหาวันได้ขุดพระหินองค์นี้ขึ้นมา แล้วนำไปซ่อมแซมบูรณะต่อชิ้นส่วนที่แตกหักให้สมบูรณ์ จากนั้นจึงอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานภายในวิหาร ชาวบ้าน เมื่อได้เห็นนิยมเรียกกันว่า “พระรอดหลวง” บ้างเรียก “แม่พระรอด”ราว 30 กว่าปีที่แล้ว นักโบราณคดีจากกรมศิลปากรเคยมาตรวจสอบโบราณวัตถุ ได้บอกแก่ทางวัดว่า พระหินองค์นี้มีความเก่าแก่มาก อายุราว 1,000 ปีเศษ เป็นศิลปะสมัยทวารวดี”เมื่อพินิจพิเคราะห์พุทธลักษณะของพระรอดหลวงหรือแม่พระรอดองค์ดังกล่าว พบว่าเป็นศิลปะแบบทวารวดีก็จริงอยู่ แต่ในขณะเดียวกันก็มีลักษณะเฉพาะของหริภุญไชยที่ ไม่พบในศิลปะแบบทวารวดีทั่วไป แต่พระรอดหลวงองค์นี้ กลับทำกรอบประภามณฑลเป็นทรงสามเหลี่ยมเรียวแหลม ซ้ำจัดวางรัศมี (ที่ถูกเรียกว่ากลีบโพธิ์) แบบเป็นระเบียบมีจังหวะ ปลายใบโพธิ์ที่พลิกนั้น พินิจให้ดีๆ จะพบว่ามีลักษณะคล้ายกับเ ศียรนาคเล็กน้อยส่วนของรัศมีรายรอบพระวรกายของพระรอดหลวงองค์นี้นี่เอง ที่ทำให้มองโดยรวมแล้ว หลายคนเชื่อว่าเป็นต้นเค้าปรกโพธิ์ให้แก่พระพิมพ์องค์จิ๋ว รุ่นพระรอดมหาวันแล้วพระรอดหลวงองค์นี้ควรมี อายุในช่วงพุทธศตวรรษที่เท่าไหร่กันแน่ ในเมื่อองค์พระพระพุทธรูปดูเก่าแบบทวารวดี (ตามที่ชาวบ้านเรียกว่า “มือแปเท้าแป”) ยุคต้นๆ จนถึงยุคกลางราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ทว่า รัศมีรายรอบพระวรกายภาย ใต้กรอบทรงแหลมสูงนั้น กลับชวนให้คิดว่าน่าจะมีอิทธิพลของศิลปะอินเดียสมัยปาละอยู่ไม่น้อย ซึ่งศิลปะปาละมีอายุอยู่ระหว่างช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-18 กว่าอิทธิพลของปาละจะเดินทางผ่านอาณาจักรพุกามเ ข้าสู่หริภุญไชย ควรใช้เวลาอย่างน้อย 1 ศตวรรษ

พิธีพุทธาพิเษก

วันที่ 16 ธค.62 พระประกอบุญ สิริญาโณ วัดมหาวัน ผู้สืบทอดตำราสร้างพระรอดมหาวัน ลำพูน เจริญพรในเมตตาบารมีธรรมพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่บัวเกตุ องค์เททอง เทแล้วนำเข้าเกจิดังร่วมอธิฐานจิต มณฑลพิธีวิหารหลวง วัดมหาวันมีเพื่อสมทบทุนขยายที่ดินวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน นอกจากนี้ทางวัดได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณพระภาวนาวิสุทธิโสภณ เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม วัดประดู่ พระเกจิผู้มากบารมีธรรมลุ่มแม่น้ำท่าจีน เมตตาจุดเทียนชัยยะมงคลพระรอด พระรอดหลวง ท้าวเวสสุวรรณ ธนบดีเศรษฐีเจ้าทรัพย์ วัดมหาวัน รุ่น1 วาระแรก และเมตตาธรรมเจ้าสล่าหลวงอูวิชัยยะ วัดกองมูคำ เขมรัฐนครเชียงตุง สังฆราชาฝ่ายไทใหญ่(แห่งรัฐฉานฝั่งตะวันออกแม่น้ำสาละวิน) ในพิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก พระรอดหลวง ท้าวเวสสุวรรณเศรษฐีเจ้าทรัพย์ รุ่น1 วัดมหาวัน จังหวัดลำพูนในเมตตาบารมีธรรมพระเดชพระคุณพระภาวนาวิสุทธิโสภณ เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม เมตตาในพิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก พระรอดหลวง ท้าวเวสสุวรรณเศรษฐีเจ้าทรัพย์ รุ่น1 วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ในวันเสาร์ที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา เวลา09.00น.

วัดวังพิกุลวราราม พิษณุโลก

วัดวังพิกุลวราราม ต.วังพิกุล อ.วังทอง จ.พิษณุโลก วัดหลวงเก่าแก่แห่งหนึ่งใน จ.พิษณุโลก โดย พระครูปลัดพานิช ญาณชีโว เจ้าอาวาส และคณะผู้มีจิตศรัทธาในองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ร่วมกันจัดสร้างพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงม้า ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง อัญเชิญประดิษฐานที่วัดวังพิกุล วราราม เพื่อเทิดพระเกียรติวีรกษัตริย์ มหาราชผู้ยิ่งใหญ่ พระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยกรุงธนบุรี เนื่องในโอกาสครบรอบกรุงธนบุรี 250 ปี เมื่อปีพ.ศ.2561พร้อมกันนี้วัดวังพิกุลวรารามและคณะผู้มีจิตศรัทธายังได้จัด สร้างพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงม้า องค์บูชา และวัตถุมงคล พระเจ้าตาก “รุ่นรวมใจภักดิ์ รักแผ่นดิน” เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงม้า และรายได้ส่วนหนึ่งจะนำไปช่วยเหลือทหารผู้เสียสละ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย

โดยมวลสารที่ใช้ในการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้ ประกอบด้วย แผ่นอักขระจาร และมวลสารที่ได้รับประทานจาก สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีราม และแผ่นอักขระจาร มวลสารจาก พระธรรมรัตนดิลก (สมเกียรติ โกวิโท) วัดอรุณราชวราราม, พระปริยัติวโรปการ วัดนาคกลาง, พระสุธีปริยัตยาภรณ์ วัดพลับ จ.จันทบุรี, พระครูอุดมกิจจารักษ์ วัดพิชัยสงคราม จ.พระนคร ศรีอยุธยา, พระเทพวินยาภรณ์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช, พระเทพปริยัติมุนี วัดหงส์รัตนาราม, พระครูสุวิมลธรรมโสภิต วัดอินทารามวรวิหาร, พระครูพิพิธชลธรรม วัดนาจอมเทียน และ พระครูวิโรจน์ธรรมประสิทธิ์ วัดกลางสวนดอก จ.ตาก

พิธีมหาเทวาภิเษกวัตถุมงคลพระเจ้าตาก รุ่นรวมใจภักดิ์ รักแผ่นดิน เมื่อวันที่ 18 ก.ค.2562 โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปัญโญ) เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ที่พระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นวัดที่มีความสำคัญอย่างมากในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน โดยเป็นวัดที่อยู่ในราชูปถัมภ์มาตลอดรัชสมัยของพระองค์ และพระองค์มักเสด็จมานั่งวิปัสสนากรรมฐานในพระอุโบสถอยู่เป็นประจำด้วยสำหรับพระเกจิอาจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต ประกอบด้วย พระธรรมรัตนดิลก (สมเกียรติ โกวิโท) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม, พระเทพมงคลญาณ วิ. (สนธิ์ อนาลโย) เจ้าอาวาสวัดพุทธบูชา, พระเทพปริยัติมุนี (มีชัย วีรปัญโญ) เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม, พระมงคลวโรปการ (ชำนาญ อุตตมปัญโญ) เจ้าอาวาสวัดชินวรารามวรวิหาร, พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (สุรศักดิ์ อติสักโข) เจ้าอาวาสวัดประดู่, พระครูวศินปริยัตยากร ผู้ช่วย เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม, พระครูโสภิต วิริยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี, พระครูสุวิมลธรรมโสภิต เจ้าอาวาสวัดอินทาราม, พระครูปลัดพานิช ญาณชีโว เจ้าอาวาสวัดวังพิกุลวราราม และ พระครูปลัดวิชัย ปัญญาทีโป เจ้าอาวาสวัดสันติวิหาร
แสดง   10 20 30