วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ลำพูน

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ลำพูน (6 สินค้า)

แสดง  30 60 90
พระพุทธเจ้าน้อย เนื้อสนิมเขียว - วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ลำพูน, วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ลำพูน
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
พระพุทธเจ้าน้อย เนื้อสนิมเขียว
฿ 199
พระรอด 1121 ปี หริภุญชัย เนื้อดิน - วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ลำพูน, วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ลำพูน
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
พระรอด 1121 ปี หริภุญชัย เนื้อดิน
฿ 99
พระลือ 1121 ปี หริภุญชัย เนื้อดิน - วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ลำพูน, วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ลำพูน
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
พระลือ 1121 ปี หริภุญชัย เนื้อดิน
฿ 99
พระบาง 1121 ปี หริภุญชัย เนื้อดิน - วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ลำพูน, วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ลำพูน
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
พระบาง 1121 ปี หริภุญชัย เนื้อดิน
฿ 99
พระลบ 1121 ปี หริภุญชัย เนื้อดิน - วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ลำพูน, วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ลำพูน
 ผ่อนชำระ 0% 
 โปรโมชั่น 
พระลบ 1121 ปี หริภุญชัย เนื้อดิน
฿ 99
แสดง  30 60 90
พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่ พระเจ้าอาทิตยราช เป็นผู้สถาปนาขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 17 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนานพระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า- ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ



ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่องทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสัณฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่และสูง เมื่อ พญามังราย ตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรง ขององค์พระธาตุฯ จากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา ในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมาประมาณปี พ.ศ. 1951 โปรดให้มีการปิดทององค์พระธาตุ พ.ศ. 1990 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์องค์สำคัญแห่งเมืองเชียงใหม่ ทรงร่วมกับพระมหาเมธังกรเถระ ก่อพระมหาเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น 92 ศอก กว้างยาวขึ้น 52 ศอก เป็นรูปร่างที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน